วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS07 -11/08/52

สรุปเรื่อง Queue
คิว เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้นหรือลิเนียร์ลิสต์ การเพิ่มข้อมูลจะทำที่ปลายข้างหนึ่งเรียกว่าส่วนท้ายหรือเรียร์ (rear) และการนำข้อมูลออกจะกระทำที่ปลายอีกข้างหนึ่งเรียกว่า ส่วนหน้า หรือฟรอนต์(front) ลักษณะการทำงานของคิวเป็นลักษณะของการเข้าก่อนออกก่อนหรือเรียกว่า FIFO (First In First Out)
การทำงานของคิว
การใส่สมาชิกตัวใหม่ลงในคิวเรียกว่า Enqueue ซึ่งมีรูปแบบคือ
enqueue (queue, newElement)
หมายถึง การใส่ข้อมูลnewElement ลงไปที่ส่วนเรียร์
การนำสมาชิกออกจากคิว เรียกว่าDequeue ซึ่งมีรูปแบบคือdequeue (queue, element) หมายถึง การนำออกจากส่วนหน้าของคิวและให้ ข้อมูลนั้นกับ element
การนำข้อมูลที่อยู่ตอนต้นของคิวมาแสดงจะเรียกว่า Queue Frontแต่จะไม่ทำการเอาข้อมูลออกจากคิว
การนำข้อมูลที่อยู่ตอนท้ายของคิวมาแสดงจะ เรียกว่าQueue Rear แต่จะไม่ทำการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิว
การแทนที่ข้อมูลของคิวสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบลิงค์ลิสต์
2. การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบอะเรย์
การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบลิงค์ลิสต์จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ
1. Head Nodeจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือพอยเตอร์จำนวน 2 ตัว คือ Front และ rearกับจำนวนสมาชิกในคิว
2. Data Node จะประกอบไปด้วยข้อมูล (Data) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป
การดำเนินการเกี่ยวกับคิว
1. Create Queue จัดสรรหน่วยความจำให้แก่ Head Node และให้ค่า pointer ทั้ง 2 ตัวมีค่าเป็น null และจำนวนสมาชิกเป็น 0
2. Enqueue การเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิว
3. Dequeue การนำข้อมูลออกจากคิว
4. Queue Front เป็นการนำข้อมูลที่อยู่ส่วนต้นของคิวมาแสดง
5. Queue Rear เป็นการนำข้อมูลที่อยู่ส่วนท้ายของคิวมาแสดง
6. Empty Queue เป็นการตรวจสอบว่าคิวว่างหรือไม่
7. Full Queue เป็นการตรวจสอบว่าคิวเต็มหรือไม่
8. Queue Count เป็นการนับจำนวนสมาชิกที่อยู่ในคิว
9. Destroy Queueเป็นการลบข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในคิว

การนำข้อมูลเข้าสู่คิว จะไม่สามารถนำเข้าในขณะที่คิวเต็ม หรือไม่มีที่ว่าง ถ้าพยายามนำเข้าจะทำให้เกิดความผิดพลาดที่เรียกว่า overflow
การนำข้อมูลออกจากคิว จะไม่สามารถนำอะไรออกจากคิวที่ว่างเปล่าได้ ถ้าพยายามจะทำให้เกิดความผิดพลาดที่เรียกว่าUnderflow

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS06 -04/08/52

สรุปเรื่อง Stack
สแตก(Stack) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแบบลิเนียร์ลิสต์ ที่มีคุณสมบัติคือ การเพิ่มหรือลบข้อมูลในสแตก จะทำที่ปลายข้างเดียวกัน เรียกว่า Top ของสแตก (Top of Stack) และลักษณะที่สำคัญของสแตก คือ ข้อมูลใส่หลังสุดจะนำออกมา จากสแตกเป็นลำดับแรกสุด เรียกคุณสมบัตินี้ว่า LIFO (last in first out)
การทำงานของสแตกมี3กระบวนการคือ
1.Push คือ การนำข้อมูลใส่ลงไปในสแตก
2.Pop คือ การนำข้อมูลออกจากส่วนบนสุดของสแตก
3.Stack Top เป็นการคัดลอกข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตก แต่ไม่ได้นำเอาข้อมูลนั้นออกจากสแตก
การแทนที่ข้อมูลของสแตก สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบลิงค์ลิสต์ จะประกอบไปด้วย2 ส่วน คือ
1. Head Node จะประกอบไปด้วย 2ส่วนคือ top pointer และจำนวนสมาชิกในสแตก
2. Data Node จะประกอบไปด้วยข้อมูล (Data) และพอยเตอร์ ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป
การดำเนินการเกี่ยวกับสแตก ได้แก่
1. Create Stack จัดสรรหน่วยความจำให้แก่ Head Nodeและส่งค่าตำแหน่งที่ชี้ไปยัง Head ของสแตกกลับมา
2. Push Stack การเพิ่มข้อมูลลงไปในสแตก
3. Pop Stack การนำข้อมูลบนสุดออกจากสแตก
4. Stack Top เป็นการคัดลอกข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตก โดยไม่มีการลบข้อมูลออกจากสแตก
5.Empty Stack เป็นการตรวจสอบการว่างของสแตก เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการนำข้อมูลออกจากสแตกที่เรียกว่า Stack Underflow
6. Full Stack เป็นการตรวจสอบว่าสแตกเต็มหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการนำข้อมูลเข้าสแตกที่เรียกว่า Stack Overflow
7. Stack Count เป็นการนับจำนวนสมาชิกในสแตก
8. Destroy Stack เป็นการลบข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในสแตก
การคำนวณนิพจน์ทางคณิตศาสตร์
ในการเขียนนิพจน์ทางคณิตศาสตร์เพื่อการคำนวณ จะต้องคำนึงถึงลำดับความสำคัญของเครื่องหมายสำหรับการคำนวณด้วยโดยทั่วไปนิพจน์ทางคณิตศาสตร์สามารถเขียนได้ 3 รูปแบบ คือ
1. นิพจน์ Infix นิพจน์รูปแบบนี้ operatorจะอยู่ตรงกลางระหว่างตัวถูกดำเนินการ 2 ตัว
2. นิพจน์ Postfix นิพจน์รูปแบบนี้ จะต้องเขียนตัวถูกดำเนินการตัวที่ 1 และ 2 ก่อน แล้วตามด้วย operator
3. นิพจน์ Prefix นิพจน์รูปแบบนี้ จะต้องเขียน operatorก่อนแล้วตามด้วยตัวถูกดำเนินการตัวที่ 1 และ 2
ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาระดับสูง คำสั่งที่เป็นนิพจน์ทางคณิตศาสตร์จะเขียนอยู่ในรูปแบบของนิพจน์Infix การคำนวณค่านิพจน์ในรูปแบบนี้ ตัวแปลภาษาต้องทำการ ตรวจสอบนิพจน์จากซ้ายไปขวา เพื่อหาเครื่องหมาย
ที่ต้องคำนวณ ก่อน จึงจะเริ่มคำนวณให้ แล้วทำแบบนี้ซ้ำ ๆกันจนกว่าจะ คำนวณเครื่องหมายครบทุกตัว ทำให้การทำงานช้าและไม่สะดวก ต่อการคำนวณ
การแก้ปัญหานี้ ตัวแปลภาษาจะทำงานแปลง
นิพจน์ Infix ให้ อยู่ในรูปแบบที่ช่วยให้การคำนวณสะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยแปลงให้อยู่ในรูปของนิพจน์ Postfix ในการแปลงจากนิพจน์ Infixไปเป็นนิพจน์ Postfix จะใช้ เทคนิคของการจัดเก็บข้อมูลใน โครงสร้างสแตกเข้ามาช่วย โดยพิจารณานิพจน์ Infix ทีละตัวอักษรจากซ้ายไปขวาและย้าย ตัวอักษรเหล่านั้นไปเป็นนิพจน์ Postfixทีละตัว ส่วนตัวดำเนินการหรือ operator จะถูกนำไปเก็บไว้ในสแตก
ขั้นตอนการแปลงจากนิพจน์ Infix เป็นนิพจน์Postfix
1. อ่านอักขระในนิพจน์ Infix เข้ามาทีละตัว
2. ถ้าเป็นตัวถูกดำเนินการจะถูกย้ายไปเป็นตัวอักษรในนิพจน์ Postfix
3. ถ้าเป็นตัวดำเนินการ จะนำค่าลำดับความสำคัญของตัว ดำเนินการที่อ่านเข้ามาเทียบกับค่าลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการที่อยู่บนสุดของสแตก
- ถ้ามีความสำคัญมากกว่า จะถูก push ลงในสแตก
- ถ้ามีความสำคัญน้อยกว่าหรือเท่ากัน จะต้อง pop ตัวดำเนินการที่อยู่ในสแตกขณะนั้นไปเรียงต่อกับตัวอักษรในนิพจน์ Postfix
4. ตัวดำเนินการที่เป็นวงเล็บปิด “)” จะไม่ push ลงในสแตกแต่มีผลให้ตัวดำเนินการอื่น ๆ ถูก pop ออกจากสแตก นำไป เรียงต่อกันในนิพจน์ Postfix จนกว่าจะเจอ “(” จะ popวงเล็บเปิดออกจากสแตกแต่ไม่นำไปเรียงต่อ
5. เมื่อทำการอ่านตัวอักษรในนิพจน์ Infixหมดแล้ว ให้ทำการ Pop ตัวดำเนินการทุกตัวในสแตกนำมาเรียงต่อในนิพจน์Postfix
ในการคำนวณค่า Postfix ที่แปลงมาแล้ว ตัวแปลภาษาจะทำการคำนวณโดยใช้โครงสร้างสแตกช่วยอีกเช่นกันขั้นตอนในการคำนวณ
1. อ่านตัวอักษรในนิพจน์ Postfix จากซานไปขวาทีละตัวอักษร
2. ถ้าเป็นตัวถูกดำเนินการ ให้ทำการ push ตัวถูกดำเนินการนั้นลงในสแตก แล้วกลับไปอ่านอักษรตัวใหม่เข้ามา
3. ถ้าเป็นตัวดำเนินการ ให้ทำการ pop ค่าจากสแตก 2 ค่าโดย ตัวแรกเป็นตัวถูกดำเนินการตัวที่ 2 และตัวที่ 1
4. ทำการคำนวณ ตัวถูกดำเนินการตัวที่ 1ด้วยตัวถูก ดำเนินการตัวที่ 2 โดยใช้ตัวดำเนินการในข้อ 3
5. ทำการ push ผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณในข้อ 4 ลงสแตก
6. ถ้าตัวอักษรในนิพจน์ Postfix ยังอ่านไม่หมดให้กลับไปทำข้อ 1 ใหม่

ฟังก์ชั่น iostream

#include
#include
int main () {
long int num;
cout<<"========== Count Back to one =========="<<'\n'<<'\n'; cout<<"Please enter number (0 to STOP):"; cin>>num;
while(num!=0){
while (num>0) {
cout<< num <<'\n';>>num;
}
clrscr();
cout<<"+++++++++++++++++++++++++++++\n"; cout<<"++++++++++ Good Bye++++++++++\n"; cout<<"+++++++++++++++++++++++++++++\n"; return 0; }

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS05 -28/07/52

สรุปเรื่อง Linked list
ลิงค์ลิสต์(Linked list) เป็นวิธีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องของอิลิเมนต์ต่างๆโดยมีพอยเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อ
แต่ละอิลิเมนต์ เรียกว่าโนด(Node) ในแต่ละโนดประกอบด้วย2ส่วน คือ
1. Data จะเก็บข้อมูลของอิลิเมนต์
2. Linked Field ทำหน้าที่เก็บตำแหน่งของโนดต่อไปในลิสต์
ในลิงค์ลิสต์จะมีตัวแปรสำหรับชี้ตำแหน่งลิสต์(List pointer variable) เป็นการเก็บตำแหน่งเริ่มต้นของลิสต์ คือโหนดแรกของลิสต์นั่นเอง ถ้าลิสต์ไม่มีข้อมูล ข้อมูลในโหนดแรกของลิสต์จะเป็น Null
โครงสร้างของข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์
แบ่งเป็น 2ส่วน คือ
1. Heard Structure ประกอบไปด้วย3 ส่วน ได้แก่ จำนวนโหนดในลิสต์ (Count) พอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดที่เข้าถึง(Pos) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดข้อมูลแรกของลิสต์(Head)
2. Data Node Structure ประกอบด้วยข้อมูล (Data) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป
กระบวนการงานและฟังก์ชั่นที่ใช้ดำเนินงานพื้นฐาน
1. กระบวนการงาน Create List
หน้าที่ สร้างลิสต์ว่าง
ผลลัพธ์ ลิสต์ว่าง
2. กระบวนงาน Insert Node
หน้าที่เพิ่มข้อมูลลงไปในลิสต์บริเวณตำแหน่งที่ต้องการ
ข้อมูลนำเข้า ลิสต์ ข้อมูล และตำแหน่ง
ผลลัพธ์ ลิสต์ที่มีการเปลี่ยนแปลง
3. กระบวนงาน Delete Node
หน้าที่ ลบสมาชิกในลิสต์บริเวณตำแหน่งที่ต้องการ
ข้อมูลนำเข้า ข้อมูลและตำแหน่ง
ผลลัพธ์ ลิสต์ที่มีการเปลี่ยนแปลง
4. กระบวนงาน Search list
หน้าที่ ค้นหาข้อมูลในลิสต์ที่ต้องการข้อมูลนำเข้าลิสต์
ผลลัพธ์ ค่าจริงถ้าพบข้อมูล ค่าเท็จถ้าไม่พบข้อมูล
5. กระบวนงาน Traverse
หน้าที่ ท่องไปในลิสต์เพื่อเข้าถึงและประมวลผลข้อมูลนำเข้าลิสต์
ผลลัพธ์ ขึ้นกับการประมวลผล
6. กระบวนงาน Retrieve Node
หน้าที่ หาตำแหน่งข้อมูลจากลิสต์ข้อมูลนำเข้าลิสต์
ผลลัพธ์ ตำแหน่งข้อมูลที่อยู่ในลิสต์
7. กระบวนงาน Empty list
หน้าที่ ทดสอบว่าลิสต์ว่างข้อมูลนำเข้าลิสต์
ผลลัพธ์ เป็นจริง ถ้าลิสต์ว่าง เป็นเท็จ ถ้าลิสต์ไม่ว่าง
8. ฟังก์ชั่น Full List
หน้าที่ ทดสอบว่าลิสต์เต็มหรือไม่ข้อมูลนำเข้าลิสต์
ผลลัพธ์ เป็นจริง ถ้าหน่วยความจำเต็ม เป็นเท็จ ถ้าสามารถมีโหนดอื่น
9. ฟังก์ชั่น List count
หน้าที่ นับจำนวนข้อมูลที่อยู่ในลิสต์ข้อมูลนำเข้าลิสต์
ผลลัพธ์ จำนวนข้อมูลที่อยู่ในลิสต์
10. กระบวนงาน destroy list
หน้าที่ ทำลายลิสต์ข้อมูลนำเข้า ลิสต์
ผลลัพธ์ ไม่มีลิสต์
Linked List แบบซับซ้อน
1. Circular Linked List เป็นลิงค์ลิสต์ที่สมาชิกตัวสุดท้ายมีตัวชี้ (list) ชี้ไปที่สมาชิกตัวแรกของลิงค์ลิสต์ จะมีการทำงานไปในทิศทางเดียวเท่านั้นคือเป็นแบบวงกลม
2. Double Linked List เป็นลิงค์ลิสต์ที่มีทิศทางการทำงานแบบ 2 ทิศทาง ในลิงค์ลิสต์แบบ 2ทิศทาง ส่วนข้อมูลจะมีตัวชี้ไปที่ข้อมูล